ประวัติ ของ ยัน อิงเงินฮุส

ยัน อิงเงินฮุสเกิดในปี ค.ศ. 1730 ที่เมืองเบรดาในสาธารณรัฐดัตช์ เมื่ออายุได้ 16 ปี เขาเข้าเรียนด้านการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเลอเฟินและเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยไลเดิน ในปี ค.ศ. 1755 เขากลับไปทำงานเป็นแพทย์ที่เมืองเบรดา หลังบิดาของอิงเงินฮุสเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1764 เขาเดินทางไปทั่วยุโรปเพื่อศึกษาต่อ อิงเงินฮุสเรียนการปลูกฝีป้องกันโรคฝีดาษกับจอห์น พริงเกิลในอังกฤษ ต่อมาในปี ค.ศ. 1767 เขาประสบความสำเร็จในการปลูกฝีให้ชาวเมืองฮาร์ตฟอร์ดเชอร์กว่า 700 คน[3] ปีต่อมา จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซาแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทรงทราบข่าวการรักษาของพริงเกิลและสนพระทัยในการปลูกฝี พริงเกิลจึงเสนอให้อิงเจิลเฮาส์เดินทางไปออสเตรีย การปลูกฝีให้แก่พระราชวงศ์ของจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซาเป็นไปได้ด้วยดี ทำให้อิงเงินฮุสได้รับตำแหน่งแพทย์ประจำพระองค์[4]

อิงเงินฮุสมีผลงานต่าง ๆ เช่น ในปี ค.ศ. 1779 เขาพบว่าเมื่อมีแสงแดด พืชจะปล่อยก๊าซชนิดหนึ่งออกมา แต่จะหยุดกระบวนการนี้เมื่อไม่มีแสงแดด[5] ต่อมาเขาพบว่าก๊าซดังกล่าวคือออกซิเจน อิงเงินฮุสยังพบภายหลังว่าเมื่อไม่มีแสงแดด พืชจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา กระบวนการดังกล่าวรู้จักในชื่อการสังเคราะห์ด้วยแสง[6][7] ต่อมาในปี ค.ศ. 1785 อิงเงินฮุสสังเกตเห็นการเคลื่อนที่ที่ไม่เป็นระเบียบของฝุ่นถ่านหินในแอลกอฮอล์ ต่อมาปรากฏการณ์นี้เรียกว่าการเคลื่อนที่แบบบราวน์[8]

ด้านชีวิตส่วนตัว อิงเงินฮุสแต่งงานกับแอกาทา มารีอา แจ็กควินในปี ค.ศ. 1755 เขาเสียชีวิตที่เมืองคาล์น ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ในปี ค.ศ. 1799[9] ในปี ค.ศ. 2017 กูเกิล ดูเดิล ฉลองวันเกิดปีที่ 287 ให้แก่อิงเงินฮุส[10]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ยัน อิงเงินฮุส http://www.encyclopedia.com/people/medicine/medici... http://time.com/5055533/jan-ingenhousz-google-dood... http://www.life.illinois.edu/govindjee/history/art... http://web.lemoyne.edu/~giunta/ingenhousz.html http://philsci-archive.pitt.edu/archive/00003790/ //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15682228 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16228428 //doi.org/10.1023%2FA:1005827711469 //doi.org/10.1023%2FA:1006460024843 http://www.mirror.co.uk/science/who-jan-ingenhousz...